วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แคลเซียม CalCium

ข้อมูลทั่วไป: แคลเซียมเป็นธาตุที่พบมากที่สุดในทุกส่วนของร่างกาย และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกระดูกและฟัน เด็กแรกเกิดจะมีปริมาณแคลเซียมเฉลี่ย 28-30 กรัม ในร่างกายขณะที่ผู้ใหญ่จะมีปริมาณแคลเซียมอยู่ระหว่าง 1.5 - 2 % ของน้ำหนักตัว หรือประมาณ 900-1,000 กรัม โดย 99 % ของแคลเซียมนั้นจะพบในกระดูกและฟัน (1, 19, 38) นอกจากแคลเซียมจะจำเป็นสำหรับการสร้างกระดูกและฟันแล้วยังจำเป็นสำหรับการแข็งตัวของเลือด การส่งสัญญาณประสาท การหดตัวของกล้ามเนื้อ และยังป้องกันการเป็นโรคกระดูกพรุนอีกด้วย (1, 12, 13, 18, 20-29, 36)
ประโยชน์: แคลเซียมมีหน้าที่หลักในการสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแร็งนั้น มีความสำคัญยิ่งต่อการดูดซึม การเก็บรักษา และหน้าที่ในการเผาผลาญของวิตามินเอ ซี ดี อี ฟอสฟอรัส และแมกนีเซียม (1, 2, 33, 34) นอกจากนี้แคลเซียมยังจำเป็นต่อการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ (1, 2, 34) รวมทั้งมีความสำคัญสำหรับสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือด เช่น การเต้นของหัวใจ และการแข็งตัวของเลือด (1, 34, 35, 37, 38) แคลเซียมจำเป็นอย่างมากต่อการเจริญของกล้ามเนื้อ การส่งสัญญาณประสาทที่ถูกต้อง ความสมดุลของกรดด่างในเลือดและความดันโลหิตที่ปกติ (1, 4, 7, 34, 38) อาการของโรคและสภาวะที่ควรจะได้รับแคลเซียม ได้แก่
  • โรคกระดูกพรุน
  • ป้องกันการเกิดมะเร็ง
  • ตั้งครรภ์และให้นมบุตร
  • ความดันโลหิตสูง
  • อาการปวดก่อนมีประจำเดือน
อาการเมื่อขาด: สัญญาณของอาการขาดแคลเซียมในเด็กคือ การหยุดเจริญของกระดูก ขาแข็งทื่อ รวมทั้งสุขภาพฟันที่ย่ำแย่ และการมีฟันซ้อน(1, 13, 34, 35, 37, 38) ในกรณีของผู้ใหญ่การบริโภคแคลเซียมปริมาณต่ำจะทำให้ความหนาแน่นของมวลกระดูก ลดลง ซึ่งมีความสัมพันธ์กันกับโรคกระดูกพรุน (1, 15, 19, 21, 22, 33, 34, 36) กระดูกจะบางและแตกหักได้ง่าย เกิดความผิดปกติทางประสาท และเป็นตะคริวตามแขน-ขา ซึ่งเป็นอาการจากการขาดแคลเซียมนั้นเอง (1, 34) ในสหรัฐอเมริกาปัญหาการบริโภคแคลเซียมไม่เพียงพอในผู้สูงอายุเป็นปัญหา วิกฤติปัญหาหนึ่ง พบว่า 3 ใน 4 ของประชากรหญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีบริโภคต่ำกว่าค่าต่ำสุดของปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน (RDA) กลุ่มเสี่ยงที่ได้รับแคลเซียมในปริมาณต่ำ คือ สตรีที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ชายที่มีอายุมากกว่า 65 ปี กลุ่มคนที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ที่มีวิถีชีวิติที่เฉื่องชา คนที่ควบคุมอาหาร ผู้ที่ทานอาหารที่โปรตีนปริมาณสูง สตรีมีครรภ์ คนที่สูบบุหรี่ ผู้ที่มีปัญหาขาดเอนไซม์ในการย่อยน้ำตาลแลคโตสในนม ผู้ที่ใช้ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียมบ่อยๆ และคนที่ได้รับยาในกลุ่มคอร์ติโซน (1) 








ขนาดรับประทาน: ปริมาณแคลเซียมที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน(RDA)ในชายและหญิงที่มีกลุ่มอายุต่างๆกัน
อายุ
ปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน (มิลลิกรัม)
แรกเกิด-6 เดือน
400
6-12 เดือน
600
1-10 ปี
800
11-24 ปี
1,200
25-50 ปี
800
51 ปีขึ้นไป
800

ในกรณีพิเศษเช่น สตรีมีครรภ์ หรือหญิงให้นมบุตรจะมีความต้องการแคลเซียมเพิ่มขึ้นเป็น 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน (3) ในกลุ่มคนที่บริโภคแอลกอฮอล์สูง สูบบุหรี่ และผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่างควรต้องเพิ่มปริมาณการรับประทานแคลเซียมใน แต่ละวันให้มากขึ้น (1, 34)

   ปัจจุบัน สามารถป้องกันโรคขาดแคลเซี่ยม ได้ด้วย ผลิตภัณฑ์ แคลเซียม นม ผสม วิตามิน ดี เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้ผล เป็นที่นิยมอย่างสูง   
   อย. 10-3-25654-1-0002
ดูข้อมูลที่ http://yufangtangmilkcalcium.blogspot.com/
    ปริมาณและราคา
    แคลเซียม นม ผสม วิตามิน ดี 1 ขวด ปริมาณ 60 เม็ด เม็ดละ 2500mg  ราคา 1,500 บาท พิเศษเหลือเพียง 1350 บาท
    วิธีรับประทาน  รับประทานวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหาร
    สั่งซื้อและสมัครเป็นตัวแทนขาย
     คุณ วุฒิ ภัคประเสริฐ โทร. 091-745-1919, 094-956-1691
     อีเมล์  wut3699@gmail.com

เอกสารอ้างอิง:


1. Brown M. L. Calcium and Phosphorus. In: Present Knowledge in Nutrition. 6th edition, 1990; International Life Sciences Institute-Nutrition Foundation, Washington, D.C., pp. 212-223.
2. ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. พจนานุกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. พ.ศ. 2533 บริษัท รวมสาสน์ จำกัด, กรุงเทพฯ.

3. Recommended Dietary Allowances 10th Edition, 1989.
4. Osborne CG, McTyre RB, Dudek J, et al. Evidence for the relationship of calcium to blood pressure. Nutr Rev 1996;54:365–81.
5. Barilla DE, Notz C, Kennedy D, Pak CYC. Renal oxalate excretion following oral oxalate loads in patients with ileal disease and with renal and absorptive hypercalciurias: effect of calcium and magnesium. Am J Med 1978;64:579–85.

6. Curhan GC, Willett WC, Rimm EB, Stampfer MJ. A prospective study of dietary calcium and other nutrients and the risk of symptomatic kidney stones. N Engl J Med 1993;328:833V83.

7. Bell L, Halstenson CE, Halstenson CJ, et al. Cholesterol-lowering effects of calcium carbonate in patients with mild to moderate hypercholesterolemia. Arch Intern Med 1992;152:2441–44.

8. Sheikh MS, Santa Ana CA, Nicar MJ, et al. Gastrointestinal absorption of calcium from milk and calcium salts. N Engl J Med 1987;317:532–36.

9. Levenson DI, Bockman RS. A review of calcium preparations. Nutr Rev 1994;52:221–32 [review].
10. Nicar MJ, Pak CYC. Calcium bioavailability from calcium carbonate and calcium citrate.J Clin Endocrinol Metabol 1985;61:391–93.
11. Harvey JA, Kenny P, Poindexter J, Pak CYC. Superior calcium absorption from calcium citrate than calcium carbonate using external forearm counting. J Am Coll Nutr 1990;9:583–87.
12. Heaney RP, Recker RR, Weaver CM. Absorbability of calcium sources: the limited role of solubility. Calcif Tissue Int 1990;46:300–4.
13. Deroisy R, Zartarian M, Meurmans L, et al. Acute changes in serum calcium and parathyroid hormone circulating levels induced by the oral intake of five currently available calcium salts in healthy male volunteers. Clin Rheumatol 1997;16:249–53.
14. Heaney RP, Recker RR, Weaver CM. Absorbability of calcium sources: the limited role of solubility. Calcific Tissue Int 1990;46:300–4.
15. Locker AC., et al. Prevalence of low femoral bone density in older U.S. adults from NHANES III. J Bone Min Res., 1998; 13: 168-74.
16. Burros M. Testing calcium supplements for lead. New York Times June 4,1997, B7.
17. Bourgoin BP, Evans DR, Cornett JR, et al. Lead content in 70 brands of dietary calcium supplements. Am J Publ Health 1993;83:1155–60.
18. O’Brien K.O. Combined Calcium and Vitamin D Supplementation Reduces Bone Loss and Fracture Incidence in Older Men and Women. Nutrition Reviews, Vol. 56 No. 5; May 1998: 148-158.

19. ผศ.ดร. ประไพศรี ศิริจักรวาล. แคลเซี่ยม: เสาหลักของร่างกาย. เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการบริษัทมี้ดจอห์นสัน

20. Buckley L. M., et.al. Calcium and vitamin D3 supplementation prevents bone loss in the spine secondary to low-dose corticosteroids in patients with rheumatoid arthritis. A randomized, double-blind, placebo-controlled trial. Ann Intern Med, 1996 Dec 15; 125(12):961-8

21. Takahashi K., et.al. Effective intervention of low peak bone mass and bone modeling in the spontaneous murine model of senile osteoporosis, SAM-P/6, by Ca supplement and hormone treatment. Bone, 1994 Mar-Apr; 15(2):209-15.

22. Dawson-Hughes B., Harris S. S., Krall E. A. and Dallal G. E. Effect of calcium and vitamin D supplementation on bone density in men and women 65 years of age or older. N Engl J Med, 1997 Sep 4; 337(10):670-6.

23. Stevens V. I., Blair R. and Salmon R.E. Effects of vitamin D3, calcium, and phosphorus on growth and bone development of market turkeys. Poult Sci, 1984 Aug; 63(8):1571-85.

24. Arkhapchev Iu. P., Sergeev I. N., Spirichev V. B. and Blazhevich N. V. Calcium metabolism and the level of active metabolites of vitamin D3 in the rat serum during bone regeneration. Vopr Med Khim, 1986 Jul-Aug; 32(4):122-9.
25. Chapuy M. C. Vitamin D3 and calcium to prevent hip fractures in the elderly women. N Engl J Med, 1992 Dec 3; 327(23):1637-42.
26. Minne H. W. Osteoporosis as a cause of pathologic fracture. Langenbecks Arch Chir Suppl II Verh Dtsch Ges Chir, 1989: 493-502.
27. Meunier P. Prevention of hip fractures by correcting calcium and vitamin D insufficiencies in elderly people. Scand J Rheumatol Suppl, 1996; 103:75-8; discussion 79-80.
28. Jensen G. F., Christiansen C. and Transbøl I. Treatment of post menopausal osteoporosis. A controlled therapeutic trial comparing oestrogen/gestagen, 1,25-dihydroxy-vitamin D3 and calcium. Clin Endocrinol (Oxf), 1982 May; 16(5): 515-24.
29. Baeksgaard L., Andersen K. P. and Hyldstrup L. Calcium and vitamin D supplementation increases spinal BMD in healthy, postmenopausal women. Osteoporos Int, 1998; 8(3):255-60
30. Lupton J. R., et.al. Calcium Supplementation Modifies the Relative Amounts of Bile Acid in Bile Affects Key Aspects of Human. Human and Clin Nutr, 1996; 126 (5): 1421-1428.
31. Devine A., Prince R. P. and Bell R. Nutritional effect of calcium supplementation by skim milk powder or calcium tablets on total nutrient intake in postmenopausal women. Am J Clin Nutr, 1996; 64: 731-7.
32. Labin-Goldscher R. and Edelstein S. Calcium Citrate: A Revised Look at Calcium Fortification.
33. Murray M. T. and Pizzorno J. E. Encyclopedia of Natural Medicine. Revised 2nd edition 1998, Prima Publishing, USA. pp. 532-533, 617, 706-721, 747.
34. Murray M. T. Encyclopedia of Natural Supplements: The essential guide for improving your health naturally. 1996, Prima Health, USA. pp. 39-43.
35. Remington’s Pharmaceutical Sciences. 17th edition 1985, Philadelphia College of Pharmacy and Science. Pp. 1007-1010.
36. Germano C., Cabot W., and Turner L. The Osteoporosis solution. Kingston Book, New York.
37. Goodman and Gilman’s: The Pharmacological Basis of Therapeutics. 8th edition Vol. 2, 1991, Pergamon Press, New York. pp. 1496-1522.
38. Walji H. Health Essential: Vitamin Guide Reprinted 1996., Element Books Ltd., Brisbane. pp. 35, 60, 128-130, 133-134.
39. Lininger S.W., eds., A-Z guide to drug-herb-vitamin interactions: how to improve your health and avoid problems when using common medications and natural supplements together. 1999, Prima Publishing, USA, pp: 273-277.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น