วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

คุณรู้หรือไม่? หากขาดแคลเซียมร่างกายจะเป็นอย่างไร


หากพูดถึงแคลเซียม...คุณคงจะนึกถึงเรื่องกระดูกและฟัน ถูกต้องแล้วครับ... แคลเซียมเป็นธาตุที่พบมากที่สุดในร่างกายของเรา และ 99% ของแคลเซียมในร่างกายมนุษย์จะถูกเก็บอยู่ในกระดูกและฟันนั่นเอง ซึ่งหน้าที่หลักๆ ของแคลเซียม คือ การสร้างกระดูก และกระดูกนี่เองที่จะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย ช่วยรักษารูปร่างและลักษณะของร่างกายให้สวยงามเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อ และปกป้องอวัยวะต่างๆ ไม่ให้ได้รับความกระทบกระเทือน นอกจากนั้น ยังช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับฟันของเราอีกด้วย
การขาดแคลเซียมหรือการได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอนั้นจะส่งผลให้ร่างกายมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางกระดูก เช่น โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกอ่อน โรคปวดข้อรูมาตอยด์ หรือโรคที่เกี่ยวกับข้อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้ออักเสบ ข้อเสื่อม ฯลฯ ซึ่งโรคเหล่านี้สร้างปัญหาให้เราได้อย่างแสนสาหัสเลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเราอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ร่างกายของเราจะหยุดสร้างเซลล์กระดูก คงเหลือไว้เพียงแต่การสลายกระดูกเท่านั้น ดังนั้นมวลกระดูกจึงลดลงเรื่อยๆ ตามอายุที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เราจำเป็นที่จะต้องได้รับแคลเซียมเสริมเพิ่มเติมเข้าไป เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกระดูกของเรา เพื่อให้กระดูกของเราทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ในทางกลับกันหากเราได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอในแต่ละวัน โรคทางกระดูกและข้อที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นก็จะกลายเป็นปัญหาหนักอก สร้างความเดือดร้อนทั้งในด้านของการรักษาและจิตใจของเราเองด้วย คุณรู้ไหมว่าอันตรายของโรคกระดูกพรุนนั้น ไม่ได้อยู่ที่แค่การที่เนื้อกระดูกของเราบางลงเท่านั้น แต่มันอยู่ที่สิ่งที่ตามมา..การที่เนื้อกระดูกของเราบาง มีความหนาแน่นน้อยน้อย จะทำให้มันเปราะได้ง่าย และเมื่อเราหกล้ม หรือโดนกระแทกเพียงเบาๆ ก็อาจจะทำให้เกิดอาการกระดูกหัก และกลายเป็นปัญหาใหญ่ตามมา การรักษาหลังจากนั้นจะค่อนข้างลำบาก เนื่องจากว่าการสมานของกระดูกในคนสูงอายุนั้น จะเป็นไปได้ยากกว่าวัยเด็ก เพราะร่างกายไม่ได้สร้างเซลล์กระดูกแล้ว นอกจากนั้นอาการติดเชื้อต่างๆ ก็ยังส่งผลต่อการรักษาด้วย และท้ายที่สุดอาจจะทำให้เสียชีวิตได้จากการหกล้มเพียงนิดเดียวเท่านั้นเอง จากสถิติพบว่า ผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไปมีอัตราการเสี่ยงต่อการกระดูกหักประมาณร้อยละ 40 และอัตราการตายจากการกระดูกหักในผู้หญิงนั้นมากกว่าอัตราการตายจากโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก และมะเร็งปากมดลูกรวมกันเสียอีก ... ไม่ใช่เรื่องล้อเล่นเลย..ว่าไหม??


ความต้องการแคลเซียมของคนในแต่ละวัย
กลุ่มอายุ
ปริมาณแคลเซียมที่แนะนำ (มิลลิกรัม/วัน)
0-12 เดือน
210 270
1-3 ปี
500
4-8 ปี
800
9-18 ปี
1,300
19-50 ปี
1,000
ผู้สูงอายุ (มากกว่า 50 ปี)
1,200
สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร
1,500 – 2,000
สตรีวัยหมดประจำเดือน
1,500
 แต่นอกเหนือจากเรื่องปัญหาโรคทางกระดูกแล้ว การขาดแคลเซียมยังส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอีกมากมาย ทั้งนี้เป็นเพราะแคลเซียมมีส่วนสำคัญต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายด้วย เป็นต้นว่า มีส่วนช่วยในเรื่องการแข็งตัวของเลือด ทำงานเกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ และรักษาความสมดุลของเลือดและความดันโลหิตให้ปกติ ดังนั้นการขาดแคลเซียม นอกจากจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางกระดูกแล้ว ก็ยังทำให้ร่างกายมีอาการผิดปกติในด้านอื่นๆ ด้วยเช่น
ภาวะที่อาจเกิดขึ้นหากขาดแคลเซียม
(Clinica Symptoms Related to Calcium Deficiency)







วัยเด็ก
(Children)
1. เหงื่อออกตอนกลางคืน (Night sweat)
2. ผมน้อย (Less hair)
3. ละเมอร้องไห้ตอนกลางคืน (Night wailing)
4. ตะคริว (Cramps)
5. กระดูกสันอกนูนชัดผิดปกติ หรืออกไก่ (Chicken breast)
6. ขาโก่ง ขาคด (“O” of “X” type legs)
7. ฟันขึ้นช้า
(Tooth growth lag)
8. สมาธิสั้น
(Hyperactivity)
9. กระสับกระส่าย
(Agitation)
10. เบื่ออาหาร
(Apositic)
11. อาการปวดขาเนื่องมาจากการเติบโต (หรือสูงขึ้น)
(Growth pain)
12. ภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง
(Weak immunity)
13. ไม่สบายง่าย
(Easily sicked)


วัยรุ่น (Teenager)
1. เหนื่อยง่าย (Tiredness)
2. นอนไม่ค่อยหลับ (Sleeplessness)
3. ขี้ลืม (Forgetful)
4. ไม่มีสมาธิ (Easily distracted)
5. ภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง (Weak immunity)
6. เบื่ออาหาร (Apositic) 


สตรีมีครรภ์และแม่ลูกอ่อน (Pregnant women and nursing mothers)
1. ภาวะกระดูกพรุนตอนตั้งครรภ์ (Pregnancy related osteoporosis)
2. มีอัตราเสี่ยงต่อการกระดูกหักหรือร้าวสูง (High risk of bone fracture)
3. เป็นตะคริวขั้นรุนแรง (Serious cramps)
4. เจ็บหลังและปวดข้อมือ (Back and wrist pain)
5. เบื่ออาหาร (Apositic)
6. มีภูมิต้านทานโรคต่ำ (Lower immunity)
7. ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของร่างกายทารก (Influences on baby’s growth)


ผู้ใหญ่ (Adults)
1. เหนื่อยง่าย (Fatigue)
2. ความจำเสื่อม (Memory loss)
3. เซื่องซึม เฉื่อยชา (Lethargy)
4. เจ็บหลังและปวดข้อมือ (Wrist and back pain)
5. เป็นตะคริวที่น่อง (Cramp of lower legs)
6. อารมณ์แปรปวน (Temperamental)


ผู้สูงอายุ (The Elderly)
1. มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ (Sleeping problems)
2. กระสับกระส่าย (Nervousness)
3. มีปัญหาเรื่องความจำ (Memory problems)
4. ปวดแสบร้อนบริเวณมือและเท้า (Tingling of hands and feet)
5. นิ้วชา (Numbnesss in fingers)
6. มีปัญหาเรื่องระบบประสาท (Nerve related problems)
7. เล็บเปราะ (Brittle nails)
8. ปวดหลังช่วงล่าง ปวดสะโพก (Lower back pains)
9. เจ็บ ปวดข้อต่อ (Joint pains)
10. หลังค่อม (Hunchback)
11. เคลื่อนไหวไม่คล่องตัว เคลื่อนไหวไม่สะดวก (Limited movement)
12. มีอัตราเสี่ยงต่อการกระดูกหักหรือร้าวสูง (Very high risk of bone fracture)
13. แก่เร็ว (Aging acceleration)

ไม่น่าเชื่อ..เลยนะครับ..ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจากการได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอจะมีมากมายขนาดนี้ เพราะฉะนั้นเราควรจะป้องกันมากกว่าการแก้ไขครับ ควรรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอกับความต้องการในแต่ละวัน แต่เชื่อเถอะครับว่า ร้อยทั้งร้อย ต่อให้คุณรับประทานอาหารอย่างไร ก็ยังคงได้รับแคลเซียมไม่เพียงพออยู่ดี... ทำไมเหรอ.. นั่นเป็นเพราะว่าอาหารที่เรารับประทานเข้าไปในแต่ละวันนั้นผ่านกระบวนการแปรรูปมากมาย คุณค่าหรือสารอาหารที่จะได้รับมักจะสูญเสียสลายไปกับความร้อนและขั้นตอนต่างๆ การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ....

   ปัจจุบัน สามารถป้องกันโรคขาดแคลเซี่ยม ได้ด้วย ผลิตภัณฑ์ แคลเซียม นม ผสม วิตามิน ดี เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้ผล เป็นที่นิยมอย่างสูง   
  
อย. 10-3-25654-1-0002

ดูข้อมูลที่ http://yufangtangmilkcalcium.blogspot.com/
    ปริมาณและราคา
    แคลเซียม นม ผสม วิตามิน ดี 1 ขวด ปริมาณ 60 เม็ด เม็ดละ 2500mg  ราคา 1,500 บาท พิเศษเหลือเพียง 1350 บาท
    วิธีรับประทาน  รับประทานวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหาร

    สั่งซื้อและสมัครเป็นตัวแทนขาย
     คุณ วุฒิ ภัคประเสริฐ โทร. 
091-745-1919, 094-956-1691
     อีเมล์  wut3699@gmail.com
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น