วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แคลเซียม....ไม่ว่าวัยไหนก็ขาดไม่ได้

เรา ทุกคนต่างรู้กันว่า แคลเซียมเป็นเกลือแร่ที่มีประโยชน์มากๆ ต่อร่างกาย ไม่ เพียงแต่ช่วยกระดูกและฟันแข็งแรงเท่านั้น แต่แคลเซียมยังสามารถช่วยต่อต้าน โรคความดันโลหิตสูงอาการหัวใจกำเริบ อาการปวดก่อนมีประจำเดือน และมะเร็ง ลำไส้ น่าเสียดายที่พบว่าคนส่วนใหญ่ได้รับแคลเซียมน้อยกว่าครึ่งของที่ ร่างกายควรจะได้รับต่อวัน
โดยทั่วไปร่างกายจะพยายามรักษา แคลเซียม ในเลือดให้ปกติเสมอเพื่อให้อวัยวะต่างๆปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างปกติ ถ้าพูดให้ง่ายก็คือ แคลเซียม ปกติ คือจำนวนเงินที่ติดกระเป๋าสำหรับใช้จ่ายแต่ละวัน โดยแคลเซียมส่วนที่ขับออกทางปัสสาวะและแคลเซียมที่ใช้เพื่อการซ่อมแซมกระดูก เปรียบเสมือนค่าใช้จ่ายประจำวันแคลเซียมในกระดูกเสมือนเงินฝากใน ธนาคาร แคลเซียมรับจากอาหารเสมือนรายได้ประจำวัน ถ้ารายรับมากกว่ารายจ่าย อาจมีเหลือเก็บในธนาคาร ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการสะสมแคลเซียมในกระดูก ถ้า รายได้น้อยกว่ารายจ่ายก็ต้องถอนจากธนาคารเพื่อนำไปใช้จ่ายก็จะทำให้เกิดการ ขาดดุล ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นอยู่เป็นประจำเงินในธนาคารก็จะร่อยหรอไป นั่นก็ เปรียบได้กับการที่ร่างกายได้รับแคลเซียมไม่พอเพียง จึงต้องละลายแคลเซียม จากกระดูกมาเพิ่มให้กับเลือด ทำให้แคลเซียมในกระดูกค่อยๆลดลง สุดท้าย แคลเซียมหรือเงินที่ติดกระเป๋าก็ลดลงจนไม่พอให้นั่นเอง จากการศึกษาพบว่าการ สะสมแคลเซียมในร่างกายของมนุษย์นั้นเริ่มตั้งแต่ยังเป็นทารกในครรภ์มารดา โดยในแต่ละวันร่างกายสามารถสะสมปริมาณแคลเซียมในระดับที่แตกต่างกัน ดังนี้ 

 - เด็กแรกเกิด - 9 ขวบ มีความสามารถในการสะสม แคลเซียมได้ 100 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน
- เด็กอายุ 10 ขวบ มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 100 – 150 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน
- ช่วงวัยรุ่น มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 200 – 400มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน
- ชายและหญิงอายุ 18 ปี มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 50 – 100 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน
- ผู้ใหญ่อายุ 30 ปี มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 0 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน ซึ่งหมายความว่าหลังจากอายุ 30 ปีขึ้นไปแล้ว ร่างกายจะไม่สะสม แคลเซียม อีกต่อไป จึงต้องมีการเติม แคลเซียมให้ร่างกายเพื่อรักษาระดับแคลเซียมในกระดูก

 ทุกวัยต้องการแคลเซียม

 เด็ก (1 – 10 ปี ) ควรได้รับ 800 – 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
ถ้าปริมาณแคลเซียมในร่างกายเด็กต่ำ จะทำให้ขบวนการสะสมเกลือแร่ในกระดูกและความ
หนา แน่นของกระดูกต่ำ เป็นผลให้เกิดโรคกระดูกอ่อนหรือโรคกระดูกค่อมงอได้  โดยเด็กจะมีอาการเหงื่อ ออกบริเวณมากเกินไป  การนั่ง คลาน เดิน ทำให้ช้า นอนไม่หลับ  กระดูกของเด็กที่ได้รับแคล
เซียมไม่เพียงพอเมื่อรับน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้นตามอายุ เป็นผลให้ขาโก่ง กระดูกซี่โครงโค้งงอ กระ
ดูกเชิงกรานมีรูปร่างผิดปกติ และเสี่ยงการเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกในช่วงต่อไปของชีวิตได้ 

วัยรุ่น (11 – 25 ปี ) ควรได้รับ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน 
ถ้าเราได้รับแคลเซียมตั้งแต่อยู่ในวัยหนุ่มสาวหรือกลางคนอย่างสม่ำเสมอและพอเพียง
อายุการสึกหรือผุกร่อนตามธรรมชาติก็จะยืดออกไปได้อีกนานกว่าคนอื่นที่อยู่ในวัยเดียวกันที่บริโภค
แคลเซียมไม่เพียงพอในวัยเด็กและวัยหนุ่มสาว 

ผู้ใหญ่ ควรได้รับ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
ถ้าไม่ได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยหมดประจำเดือนซึ่งการศึกษาพบ
ว่าร่างกายจะสูญเสียกระดูกในช่วงประมาณ 5-6 ปีแรกหลังหมดประจำเดือน   เนื่องจากการลดลงของ
ฮอร์โมนเอสโตรเจน และประสิทธิภาพในการสร้างวิตามิน D ก็ลดลงตามวัยที่เพิ่มมากขึ้นจึงมีแนวโน้ม
จะเป็นโรคกระดูกพรุน อาจทำให้กระดุกหักได้เนื่องจากแบกรับน้ำหนักตัวไม่ไหว และในกรณีที่ร้ายแรง
จะก่อผลเสียต่อกระดูกสันหลังกระดูกต้นขาและกระดูกแขนท่อนนอกได้อีกด้วย โดยโรคดังกล่าวจะไม่
แสดงอาการใดๆ ให้ทราบเลยจนกว่าจะมีอาการกระดูกหัก ดังนั้นคนในวัยสูงอายุที่มีการเสริม
แคลเซียมให้กับกระดูกอย่างเพียงพอ จะช่วยยับยั้งการสูญเสียกระดูกในช่วงนี้ 

หญิงมีครรภ์ ควรได้รับ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อสภาวะการตั้งครรภ์อย่างมาก เนื่องจากจะต้องถ่ายทอด
แร่ธาตุดังกล่าวสู่ลูกเพื่อการพัฒนาโครงสร้างร่างกายของทารกในครรภ์   ดังนั้นหญิงมีครรภ์จึงมีโอกาส
เสี่ยงสูงที่จะขาดแคลเซียม ถ้าไม่สามารถบริโภคที่ให้ปริมาณแคลเซียมได้เพียงพอต่อทั้งแม่และลูกได้
บ่อยครั้งจึงพบว่าหญิงมีครรภ์จะมีอาการกล้ามเนื้อปวดเกร็งในบริเวณต่างๆ ของร่างกาย ที่พบบ่อย คือ
บริเวณน่อง โดยจะเกิดขึ้นทั้งๆ ที่ไม่ได้ออกกำลังกายหรือเดินมาก อันเป็นผลมาจากการขาดแคลเซียม
นั่นเอง นอกจากนี้แคลเซียมยังมีส่วนช่วยรักษาเสถียรสภาพความหนาแน่นกระดูกของแม่ซึ่งจะช่วยลด
ความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนภายหลังได้ 

หญิงให้นมบุตร ควรได้รับ 1,500 – 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน
ผู้ป่วยกระดูกหัก ควรได้รับ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน
 




 
ปัจจุบัน สามารถป้องกันโรคขาดแคลเซี่ยม ได้ด้วย ผลิตภัณฑ์ แคลเซียม นม ผสม วิตามิน ดี เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้ผล เป็นที่นิยมอย่างสูง   
อย. 10-3-25654-1-0002
ดูข้อมูลที่ http://yufangtangmilkcalcium.blogspot.com/
ปริมาณและราคา
    แคลเซียม นม ผสม วิตามิน ดี 1 ขวด ปริมาณ 60 เม็ด เม็ดละ 2500mg  ราคา 1,500 บาท พิเศษเหลือเพียง 1350 บาท
    วิธีรับประทาน  รับประทานวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหาร
    สั่งซื้อและสมัครเป็นตัวแทนขาย
     คุณ วุฒิ ภัคประเสริฐ โทร. 
091-745-1919, 094-956-1691
     อีเมล์  wut3699@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น