วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)

โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่มีผลกระทบเป็นอย่างสูงกับคนสูงอายุทั่วโลก ในประเทศไทยพบว่าผู้สูงอายุเป็นโรคนี้กันมาก โรคกระดูกพรุน เป็น ภาวะที่เนื้อกระดูกลดลงและโครงสร้างภายในเนื้อกระดูกเปลี่ยนแปลงทำให้กระดูก เปราะบางและแตกหักง่าย แม้ความแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย
ปกติ เนื้อกระดูกจะค่อยๆ สะสมตั้งแต่แรกเกิด และมีความหนาแน่นของกระดูกสูงสุด เมื่ออายุ 30 ปีจากนั้นเนื้อกระดูกจะลดลงเรื่อยๆ ในผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือนอายุประมาณ 50 ปี เนื้อกระดูกจะลดลงมากกว่าผู้ชายอายุที่เท่ากัน ประมาณ 5 - 10 ปี หลังจากนั้นผู้หญิงและผู้ชายจะมีอัตราการสูญเสียเนื้อกระดูกเท่าๆ กัน

 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน
   1. เพศ เพศหญิงมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชาย
   2. อายุ อายุยิ่งมากขึ้นกระดูกจะบางมากยิ่งขึ้น
   3. เชื้อชาติ พบในคนเอเชียและผิวขาวมากกว่า
   4. รูปร่าง รูปร่างเล็กและผอมบาง กระดูกจะบางมากกว่าคนรูปร่างปกติ
   5. ดื่มกาแฟ เป็นต้นเหตุของโรคกระดูกพรุน
   6. สูบบุหรี่, ดื่มสุรา เป็นสาเหตุให้กระดูกบางมากยิ่งขึ้น
   7. การใช้ยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ เป็นต้น

อาการ
โรคกระดูกพรุนไม่มีอาการ เป็นโรคที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดกระดูกแตกหักง่าย ถึงแม้ความแรงจากอุบัติเหตุไม่มาก บริเวณกระดูกที่หักง่าย คือ กระดูกข้อมือ กระดูกสะโพก กระดูกสันหลัง สังเกตจากผู้สูงอายุมักจะมีอาการปวดหลังและหลังโก่ง เนื่องจากกระดูกสันหลังแตกทรุดเพียงแรงกระแทกเบาๆ


 
การวินิจฉัย
ปัจจุบันการวัดความหนาแน่นกระดูกเป็นวิธีที่แม่นยำ เพื่อแยกผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักง่ายออกมาเพื่อรักษา


การป้องกันและรักษา
   1. การรักษาโดยไม่ใช้ยา คือ
      - รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมอย่างเพียงพอ
      - ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที ไม่น้อยกว่า 3 วัน / สัปดาห์
      - งดการสูบบุหรี่ และงดดื่มกาแฟ
      - รับแสงแดด วันละ 15 - 30 นาที

   2. การรักษาโดยใช้ยา ได้แก่
      - แคลเซียมและวิตามินดี
      - ยากลุ่มฮอร์โมน
      - แคลซิโตนิน
      - ยากลุ่มบิสฟอสฟอร์เนต

ปัจจุบัน สามารถป้องกันโรคขาดแคลเซี่ยม ได้ด้วย ผลิตภัณฑ์ แคลเซียม นม ผสม วิตามิน ดี เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้ผล เป็นที่นิยมอย่างสูง   
อย. 10-3-25654-1-0002
ดูข้อมูลที่ http://yufangtangmilkcalcium.blogspot.com/
ปริมาณและราคา
    แคลเซียม นม ผสม วิตามิน ดี 1 ขวด ปริมาณ 60 เม็ด เม็ดละ 2500mg  ราคา 1,500 บาท พิเศษเหลือเพียง 1350 บาท
    วิธีรับประทาน  รับประทานวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหาร
    สั่งซื้อและสมัครเป็นตัวแทนขาย
     คุณ วุฒิ ภัคประเสริฐ โทร. 
091-745-1919, 094-956-1691
     อีเมล์  wut3699@gmail.com

ประโยชน์ของแคลเซียม

แคลเซียม ในร่างกายเกือบทั้งหมดจะสะสมในกระดูกและฟัน ซึ่งเป็นที่ๆ มันๆ ไปช่วยทำให้เกิดความแข็งแรง อีกทั้งจะมีปริมาณ แคลเซียม จำนวนน้อยๆ ที่อยู่ในกระแสเลือดที่จะมีส่วนช่วยในการสร้างฮอร์โมนและเอนไซม์ต่างๆ เพื่อให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ เช่น
-  แคลเซียม ทำหน้าที่เป็นตัวนำสัญญาณระหว่างเซลประสาทให้สื่อสารกันได้เป็นปกติ
-  แคลเซียม ช่วยให้กล้ามเนื้อหดตัวได้เป็นปกติ ที่สำคัญคือกล้ามเนื้อหัวใจ
-  แคลเซียม ช่วยในขบวนการทำให้เลือดแข็งตัว
-  แคลเซียม ช่วยในขบวนการสร้างภูมิคุ้มกันโรค

ดังนั้นหน้าที่ๆ สำคัญเหล่านี้ทำให้ร่างกายขาด แคลเซียม ไม่ได้เลย ดังนั้นเมื่อร่างกายขาดก็จะไปดึงมาจากกระดูกแทน ส่งผลให้กระดูกไม่แข็งแรง แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่คนส่วนใหญ่รับประทาน แคลเซียม น้อยกว่าครึ่งของที่ควรจะได้รับต่อวัน ทำให้กระดูกก็จะบางลง และไม่แข็งลงเรื่อยๆ และเรามักจะทราบว่าเราเป็นโรค กระดูกพรุน ก็ต่อเมื่อเกิดอาการกระดูกหักง่ายแม้กระทบเพียงเล็กน้อย
โดยส่วนใหญ่จะแนะนำให้รับประทานแคลเซียมร่วมกับ แมกนีเซียม และ วิตามินดี ซึ่งที่จริงแล้วร่างกายเราจะได้รับ วิตามินดี จากแสงแดดธรรมชาติอยู่แล้ว และยังพบในอาหารต่างๆ อีก วิตามินดีจะช่วยให้ แคลเซียม ถูกดูดซึมได้เป็นปกติ ส่วน แมกนีเซียม ซึ่งเป็นวิตามินที่สำคัญของร่างกายและอาจจถูกยับยั้งการดูดซึมจาก แคลเซียม ได้ ดังนั้นจึงแนะนำให้รับประทาน แคลเซียม คู่กับ แมกนีเซียม ไปด้วยกัน

โรคกระดูกพรุน
ถ้ากระดูกเราแข็งแรงก็จะช่วยป้องกันโรค กระดูกพรุน ได้หรือทำให้เป็นช้าลง ดังนั้นเราควรพยายามรับประทาน แคลเซียม ให้เพียงพอและต่อเนื่องทุกวัน ซึ่งจะทำให้ร่างกายไปสะสม แคลเซียม ที่กระดูก และทำให้กระดุกแข็งแรง หากเราได้รับ แคลเซียม ไม่เพียงพอก็จะทำให้ก็จะทำให้กระดูกบางลง และทำให้หักได้ง่าย ความสูงไม่เพิ่มขึ้นหรือเตี้ยกว่าที่ควรจะเป็น ได้มีการศึกษาพบว่าถึงแม้ว่าในอายุที่น้อยกว่า 35 ปีร่างกายมักจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพกระดูกและฟัน ทั้งนี้คนที่อายุมากกว่า 65 ปี และพยายามรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วย แคลเซียม หรือรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการสูญเสียมวล กระดูกและการเกิดอาการกระดูกหักได้ อีกทั้งในรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับอาการปวดหลัง ลองรับประทาน แคลเซียม ร่วมกับ แมกนีเซียม ซึ่งจะทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้นและลดอาการดังกล่าวได้
ความดันโลหิตสูง
มีการศึกษาพบว่าคนที่ความดันโลหิตสูงมักจะรับประทาน แคลเซียม น้อยกว่าคนปกติ และยังพบอีกว่าการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้ว แคลเซียม หรืออาหารเสริมช่วยลดความดันโลหิตลงในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ทั้งนี้เป็นเพราะ แคลเซียม ช่วยให้กล้ามเนื้อบีบตัวได้ดีและทำให้หัวใจและหลอดเลือดทำงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพจึงส่งผลให้ความดันโลหิตลดลงได้
มะเร็งลำไส้ใหญ่
 แคลเซียม ช่วยป้องกัน มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้มายาวนาน และพบว่าคนที่มีความเสี่ยงที่จะเป็น มะเร็งลำไส้ใหญ่ จะมีแน้วโน้มลดลงได้เมื่อรับประทาน แคลเซียม มีการพบว่าหลังได้รับ แคลเซียม การแบ่งเซลที่ผิดปกติลดลง มันดูเหมือนว่า แคลเซียม จะไปลดผลการรบกวนของน้ำดีและกรดไขมันในลำไส้ลงที่เป็นสาเหตุของการแบ่งเซล ที่ผิดปกติในลำไส้
อาการปวดก่อนมีประจำเดือน 
มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า แคลเซียม ช่วยบรรเทาอาการปวดก่อนมีประจำเดือน และรวมทั้ง อารมณ์ที่แปรปรวน ซึมเศร้า และอื่นๆ ที่มักจะเกิดก่อนที่จะมีประจำเดือน ทั้งนี้เพราะการที่มีระดับ แคลเซียม ในร่างกายต่ำส่งผลให้ระดับฮอร์โมนผิดปกติไปด้วย มีการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้เองในผู้หญิงหลายร้อยคนให้รับประทาน แคลเซียม ขนาด 750 มิลลิกรัมครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง พบว่าอาการที่เกี่ยวข้องที่มักเกิดก่อนมีประจำเดือนรวมทั้งอาการปวดลดลง อย่างเห็นได้ชัด ความรุนแรงก็ลงกว่าครึ่ง
ประโยชน์อื่นๆของแคลเซี่ยม
ลดอาการ โรคกระเพราะ หากรับประทาน แคลเซียม ในรูปของ แคลเซียมคาร์บอเนตซึ่งเป็นรูปแบบของยาลดกรดตัวหนึ่ง จึงไปช่วยลดอาการ โรคกระเพราะลงได้
โรคนอนไม่หลับ มีหลายๆ คนที่มีปัญหาโรคนอนไม่หลับอันเนื่องมาจากมีระดับ แคลเซียม ในเลือดต่ำ ดังนั้นการรับประทาน แคลเซียม ร่วมกับ แมกนีเซียม จะช่วยลดอาการนี้ได้ดี
ป้องกันอาการ ไมเกรน เนื่องการรับประทาน แคลเซียม ร่วมกับ แมกนีเซียม จะช่วยให้ระบบหลอดเลือดและสมองมีการทำงานดีขึ้น จึงช่วยลดอาการ ไมเกรน ลงได้



ปัจจุบัน สามารถป้องกันโรคขาดแคลเซี่ยม ได้ด้วย ผลิตภัณฑ์ แคลเซียม นม ผสม วิตามิน ดี เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้ผล เป็นที่นิยมอย่างสูง   
อย. 10-3-25654-1-0002
ดูข้อมูลที่ http://yufangtangmilkcalcium.blogspot.com/
ปริมาณและราคา
    แคลเซียม นม ผสม วิตามิน ดี 1 ขวด ปริมาณ 60 เม็ด เม็ดละ 2500mg  ราคา 1,500 บาท พิเศษเหลือเพียง 1350 บาท
    วิธีรับประทาน  รับประทานวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหาร
    สั่งซื้อและสมัครเป็นตัวแทนขาย
     คุณ วุฒิ ภัคประเสริฐ โทร. 
091-745-1919, 094-956-1691
     อีเมล์  wut3699@gmail.com

วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ

ลักษณะทั่วไป
ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ หมายถึง ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ (ค่าปกติประมาณ 8.5 - 10.5 มิลลิกรัม ต่อเลือด 100 มล.) เป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อยนัก อาจพบได้ทั้งในทารกและผู้ใหญ่
สาเหตุ
1. ในผู้ใหญ่ส่วนมาก มีสาเหตุจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ (เช่น ผู้ป่วยที่เป็นคอพอกเป็นพิษ หรือต่อมไทรอยด์โตมาก) แล้วตัดเอาต่อมพาราไทรอยด์ออกไปด้วย จึงทำให้เกิดภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานน้อย (Hypoparathyroidism) ต่อมนี้มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนช่วยรักษาระดับของแคลเซียมในเลือดให้อยู่ใน สมดุล เมื่อต่อมนี้ทำงานได้น้อย ก็ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ ซึ่งอาจแสดงอาการภายหลังผ่าตัดแล้วเป็นปี ๆ ก็ได้ และอาจเป็นชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากต่อมพาราไทรอยด์ทำงานน้อยโดยไม่ทราบสาเหตุ, ภาวะไตวายเรื้อรัง, การใช้ยาขับปัสสาวะนาน ๆ, ภาวะโปรตีนในเลือดต่ำ, ภาวะขาดวิตามินดี, ลำไส้ดูดซึมธาตุแคลเซียมได้น้อย, โรคพิษสุราเรื้อรัง, ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน เป็นต้น 2. ในทารกแรกเกิด ถ้ามีอาการภายใน 2-3 วัน หลังคลอด อาจมีสาเหตุจากการให้ทารกกินนมวัวระเหย, ทารกที่มีแม่เป็นเบาหวาน และมีภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์, ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย ถ้ามีอาการหลังคลอดเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน อาจมีสาเหตุจากแม่เป็นโรคต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกิน (Hyperparathyroidism), ทารกเป็นโรคต่อมพาราไทรอยด์ทำงานน้อย, ภาวะขาดวิตามินเอ, ภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ (Hypomagnesemia)
อาการ
ที่พบได้บ่อย คือ ผู้ป่วยจะมีอาการมือจีบเกร็งทั้งสองข้าง แบบเดียวกับที่พบในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบจากอารมณ์ นอกจากนี้อาจเป็นตะคริวที่ขา ใบหน้า หรือปวดบิดในท้อง บางคนอาจมีความรู้สึกชาที่ริมฝีปาก ลิ้น และปลายมือปลายเท้า ถ้าเป็นรุนแรงอาจมีอาการชัก ในทารก อาจมีอาการชัก หายใจลำบาก ตัวเขียว บางคนอาจมีอาการอาเจียน (ซึ่งอาจรุนแรงจนเข้าใจผิดว่ามีภาวะกระเพาะลำไส้อุดตัน)
สิ่งที่ตรวจพบ
มือจีบเกร็งทั้ง 2 ข้าง อาจเป็นตะคริวที่ขาหรือชัก
อาการแทรกซ้อน
ถ้ามีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำมาก ๆ อาจทำให้หัวใจวาย, กล่องเสียงเกร็งตัวจนหายใจไม่ได้ ถ้าเกิดจากภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานน้อย หากปล่อยไว้เรื้อรัง อาจทำให้เป็นต้อกระจก บุคลิกเปลี่ยนแปลง ซึมเศร้า ถ้าหากเป็นตั้งแต่เล็ก ๆ หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้ฟันเสีย ร่างกายไม่เจริญเติบโต และปัญญาอ่อนได้
อาการมือจีบเกร็ง อาจเกิดจากภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ หรือโรคหอบจากอารมณ์ 




ปัจจุบัน สามารถป้องกันโรคขาดแคลเซี่ยม ได้ด้วย ผลิตภัณฑ์ แคลเซียม นม ผสม วิตามิน ดี เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้ผล เป็นที่นิยมอย่างสูง   
อย. 10-3-25654-1-0002
ดูข้อมูลที่ http://yufangtangmilkcalcium.blogspot.com/
ปริมาณและราคา
    แคลเซียม นม ผสม วิตามิน ดี 1 ขวด ปริมาณ 60 เม็ด เม็ดละ 2500mg  ราคา 1,500 บาท พิเศษเหลือเพียง 1350 บาท
    วิธีรับประทาน  รับประทานวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหาร
    สั่งซื้อและสมัครเป็นตัวแทนขาย
     คุณ วุฒิ ภัคประเสริฐ โทร. 
091-745-1919, 094-956-1691
     อีเมล์  wut3699@gmail.com

แคลเซียม....ไม่ว่าวัยไหนก็ขาดไม่ได้

เรา ทุกคนต่างรู้กันว่า แคลเซียมเป็นเกลือแร่ที่มีประโยชน์มากๆ ต่อร่างกาย ไม่ เพียงแต่ช่วยกระดูกและฟันแข็งแรงเท่านั้น แต่แคลเซียมยังสามารถช่วยต่อต้าน โรคความดันโลหิตสูงอาการหัวใจกำเริบ อาการปวดก่อนมีประจำเดือน และมะเร็ง ลำไส้ น่าเสียดายที่พบว่าคนส่วนใหญ่ได้รับแคลเซียมน้อยกว่าครึ่งของที่ ร่างกายควรจะได้รับต่อวัน
โดยทั่วไปร่างกายจะพยายามรักษา แคลเซียม ในเลือดให้ปกติเสมอเพื่อให้อวัยวะต่างๆปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างปกติ ถ้าพูดให้ง่ายก็คือ แคลเซียม ปกติ คือจำนวนเงินที่ติดกระเป๋าสำหรับใช้จ่ายแต่ละวัน โดยแคลเซียมส่วนที่ขับออกทางปัสสาวะและแคลเซียมที่ใช้เพื่อการซ่อมแซมกระดูก เปรียบเสมือนค่าใช้จ่ายประจำวันแคลเซียมในกระดูกเสมือนเงินฝากใน ธนาคาร แคลเซียมรับจากอาหารเสมือนรายได้ประจำวัน ถ้ารายรับมากกว่ารายจ่าย อาจมีเหลือเก็บในธนาคาร ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการสะสมแคลเซียมในกระดูก ถ้า รายได้น้อยกว่ารายจ่ายก็ต้องถอนจากธนาคารเพื่อนำไปใช้จ่ายก็จะทำให้เกิดการ ขาดดุล ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นอยู่เป็นประจำเงินในธนาคารก็จะร่อยหรอไป นั่นก็ เปรียบได้กับการที่ร่างกายได้รับแคลเซียมไม่พอเพียง จึงต้องละลายแคลเซียม จากกระดูกมาเพิ่มให้กับเลือด ทำให้แคลเซียมในกระดูกค่อยๆลดลง สุดท้าย แคลเซียมหรือเงินที่ติดกระเป๋าก็ลดลงจนไม่พอให้นั่นเอง จากการศึกษาพบว่าการ สะสมแคลเซียมในร่างกายของมนุษย์นั้นเริ่มตั้งแต่ยังเป็นทารกในครรภ์มารดา โดยในแต่ละวันร่างกายสามารถสะสมปริมาณแคลเซียมในระดับที่แตกต่างกัน ดังนี้ 

 - เด็กแรกเกิด - 9 ขวบ มีความสามารถในการสะสม แคลเซียมได้ 100 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน
- เด็กอายุ 10 ขวบ มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 100 – 150 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน
- ช่วงวัยรุ่น มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 200 – 400มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน
- ชายและหญิงอายุ 18 ปี มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 50 – 100 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน
- ผู้ใหญ่อายุ 30 ปี มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 0 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน ซึ่งหมายความว่าหลังจากอายุ 30 ปีขึ้นไปแล้ว ร่างกายจะไม่สะสม แคลเซียม อีกต่อไป จึงต้องมีการเติม แคลเซียมให้ร่างกายเพื่อรักษาระดับแคลเซียมในกระดูก

 ทุกวัยต้องการแคลเซียม

 เด็ก (1 – 10 ปี ) ควรได้รับ 800 – 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
ถ้าปริมาณแคลเซียมในร่างกายเด็กต่ำ จะทำให้ขบวนการสะสมเกลือแร่ในกระดูกและความ
หนา แน่นของกระดูกต่ำ เป็นผลให้เกิดโรคกระดูกอ่อนหรือโรคกระดูกค่อมงอได้  โดยเด็กจะมีอาการเหงื่อ ออกบริเวณมากเกินไป  การนั่ง คลาน เดิน ทำให้ช้า นอนไม่หลับ  กระดูกของเด็กที่ได้รับแคล
เซียมไม่เพียงพอเมื่อรับน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้นตามอายุ เป็นผลให้ขาโก่ง กระดูกซี่โครงโค้งงอ กระ
ดูกเชิงกรานมีรูปร่างผิดปกติ และเสี่ยงการเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกในช่วงต่อไปของชีวิตได้ 

วัยรุ่น (11 – 25 ปี ) ควรได้รับ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน 
ถ้าเราได้รับแคลเซียมตั้งแต่อยู่ในวัยหนุ่มสาวหรือกลางคนอย่างสม่ำเสมอและพอเพียง
อายุการสึกหรือผุกร่อนตามธรรมชาติก็จะยืดออกไปได้อีกนานกว่าคนอื่นที่อยู่ในวัยเดียวกันที่บริโภค
แคลเซียมไม่เพียงพอในวัยเด็กและวัยหนุ่มสาว 

ผู้ใหญ่ ควรได้รับ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
ถ้าไม่ได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยหมดประจำเดือนซึ่งการศึกษาพบ
ว่าร่างกายจะสูญเสียกระดูกในช่วงประมาณ 5-6 ปีแรกหลังหมดประจำเดือน   เนื่องจากการลดลงของ
ฮอร์โมนเอสโตรเจน และประสิทธิภาพในการสร้างวิตามิน D ก็ลดลงตามวัยที่เพิ่มมากขึ้นจึงมีแนวโน้ม
จะเป็นโรคกระดูกพรุน อาจทำให้กระดุกหักได้เนื่องจากแบกรับน้ำหนักตัวไม่ไหว และในกรณีที่ร้ายแรง
จะก่อผลเสียต่อกระดูกสันหลังกระดูกต้นขาและกระดูกแขนท่อนนอกได้อีกด้วย โดยโรคดังกล่าวจะไม่
แสดงอาการใดๆ ให้ทราบเลยจนกว่าจะมีอาการกระดูกหัก ดังนั้นคนในวัยสูงอายุที่มีการเสริม
แคลเซียมให้กับกระดูกอย่างเพียงพอ จะช่วยยับยั้งการสูญเสียกระดูกในช่วงนี้ 

หญิงมีครรภ์ ควรได้รับ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อสภาวะการตั้งครรภ์อย่างมาก เนื่องจากจะต้องถ่ายทอด
แร่ธาตุดังกล่าวสู่ลูกเพื่อการพัฒนาโครงสร้างร่างกายของทารกในครรภ์   ดังนั้นหญิงมีครรภ์จึงมีโอกาส
เสี่ยงสูงที่จะขาดแคลเซียม ถ้าไม่สามารถบริโภคที่ให้ปริมาณแคลเซียมได้เพียงพอต่อทั้งแม่และลูกได้
บ่อยครั้งจึงพบว่าหญิงมีครรภ์จะมีอาการกล้ามเนื้อปวดเกร็งในบริเวณต่างๆ ของร่างกาย ที่พบบ่อย คือ
บริเวณน่อง โดยจะเกิดขึ้นทั้งๆ ที่ไม่ได้ออกกำลังกายหรือเดินมาก อันเป็นผลมาจากการขาดแคลเซียม
นั่นเอง นอกจากนี้แคลเซียมยังมีส่วนช่วยรักษาเสถียรสภาพความหนาแน่นกระดูกของแม่ซึ่งจะช่วยลด
ความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนภายหลังได้ 

หญิงให้นมบุตร ควรได้รับ 1,500 – 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน
ผู้ป่วยกระดูกหัก ควรได้รับ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน
 




 
ปัจจุบัน สามารถป้องกันโรคขาดแคลเซี่ยม ได้ด้วย ผลิตภัณฑ์ แคลเซียม นม ผสม วิตามิน ดี เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้ผล เป็นที่นิยมอย่างสูง   
อย. 10-3-25654-1-0002
ดูข้อมูลที่ http://yufangtangmilkcalcium.blogspot.com/
ปริมาณและราคา
    แคลเซียม นม ผสม วิตามิน ดี 1 ขวด ปริมาณ 60 เม็ด เม็ดละ 2500mg  ราคา 1,500 บาท พิเศษเหลือเพียง 1350 บาท
    วิธีรับประทาน  รับประทานวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหาร
    สั่งซื้อและสมัครเป็นตัวแทนขาย
     คุณ วุฒิ ภัคประเสริฐ โทร. 
091-745-1919, 094-956-1691
     อีเมล์  wut3699@gmail.com

แคลเซียม CalCium

ข้อมูลทั่วไป: แคลเซียมเป็นธาตุที่พบมากที่สุดในทุกส่วนของร่างกาย และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกระดูกและฟัน เด็กแรกเกิดจะมีปริมาณแคลเซียมเฉลี่ย 28-30 กรัม ในร่างกายขณะที่ผู้ใหญ่จะมีปริมาณแคลเซียมอยู่ระหว่าง 1.5 - 2 % ของน้ำหนักตัว หรือประมาณ 900-1,000 กรัม โดย 99 % ของแคลเซียมนั้นจะพบในกระดูกและฟัน (1, 19, 38) นอกจากแคลเซียมจะจำเป็นสำหรับการสร้างกระดูกและฟันแล้วยังจำเป็นสำหรับการแข็งตัวของเลือด การส่งสัญญาณประสาท การหดตัวของกล้ามเนื้อ และยังป้องกันการเป็นโรคกระดูกพรุนอีกด้วย (1, 12, 13, 18, 20-29, 36)
ประโยชน์: แคลเซียมมีหน้าที่หลักในการสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแร็งนั้น มีความสำคัญยิ่งต่อการดูดซึม การเก็บรักษา และหน้าที่ในการเผาผลาญของวิตามินเอ ซี ดี อี ฟอสฟอรัส และแมกนีเซียม (1, 2, 33, 34) นอกจากนี้แคลเซียมยังจำเป็นต่อการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ (1, 2, 34) รวมทั้งมีความสำคัญสำหรับสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือด เช่น การเต้นของหัวใจ และการแข็งตัวของเลือด (1, 34, 35, 37, 38) แคลเซียมจำเป็นอย่างมากต่อการเจริญของกล้ามเนื้อ การส่งสัญญาณประสาทที่ถูกต้อง ความสมดุลของกรดด่างในเลือดและความดันโลหิตที่ปกติ (1, 4, 7, 34, 38) อาการของโรคและสภาวะที่ควรจะได้รับแคลเซียม ได้แก่
  • โรคกระดูกพรุน
  • ป้องกันการเกิดมะเร็ง
  • ตั้งครรภ์และให้นมบุตร
  • ความดันโลหิตสูง
  • อาการปวดก่อนมีประจำเดือน
อาการเมื่อขาด: สัญญาณของอาการขาดแคลเซียมในเด็กคือ การหยุดเจริญของกระดูก ขาแข็งทื่อ รวมทั้งสุขภาพฟันที่ย่ำแย่ และการมีฟันซ้อน(1, 13, 34, 35, 37, 38) ในกรณีของผู้ใหญ่การบริโภคแคลเซียมปริมาณต่ำจะทำให้ความหนาแน่นของมวลกระดูก ลดลง ซึ่งมีความสัมพันธ์กันกับโรคกระดูกพรุน (1, 15, 19, 21, 22, 33, 34, 36) กระดูกจะบางและแตกหักได้ง่าย เกิดความผิดปกติทางประสาท และเป็นตะคริวตามแขน-ขา ซึ่งเป็นอาการจากการขาดแคลเซียมนั้นเอง (1, 34) ในสหรัฐอเมริกาปัญหาการบริโภคแคลเซียมไม่เพียงพอในผู้สูงอายุเป็นปัญหา วิกฤติปัญหาหนึ่ง พบว่า 3 ใน 4 ของประชากรหญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีบริโภคต่ำกว่าค่าต่ำสุดของปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน (RDA) กลุ่มเสี่ยงที่ได้รับแคลเซียมในปริมาณต่ำ คือ สตรีที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ชายที่มีอายุมากกว่า 65 ปี กลุ่มคนที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ที่มีวิถีชีวิติที่เฉื่องชา คนที่ควบคุมอาหาร ผู้ที่ทานอาหารที่โปรตีนปริมาณสูง สตรีมีครรภ์ คนที่สูบบุหรี่ ผู้ที่มีปัญหาขาดเอนไซม์ในการย่อยน้ำตาลแลคโตสในนม ผู้ที่ใช้ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียมบ่อยๆ และคนที่ได้รับยาในกลุ่มคอร์ติโซน (1) 








ขนาดรับประทาน: ปริมาณแคลเซียมที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน(RDA)ในชายและหญิงที่มีกลุ่มอายุต่างๆกัน
อายุ
ปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน (มิลลิกรัม)
แรกเกิด-6 เดือน
400
6-12 เดือน
600
1-10 ปี
800
11-24 ปี
1,200
25-50 ปี
800
51 ปีขึ้นไป
800

ในกรณีพิเศษเช่น สตรีมีครรภ์ หรือหญิงให้นมบุตรจะมีความต้องการแคลเซียมเพิ่มขึ้นเป็น 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน (3) ในกลุ่มคนที่บริโภคแอลกอฮอล์สูง สูบบุหรี่ และผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่างควรต้องเพิ่มปริมาณการรับประทานแคลเซียมใน แต่ละวันให้มากขึ้น (1, 34)

   ปัจจุบัน สามารถป้องกันโรคขาดแคลเซี่ยม ได้ด้วย ผลิตภัณฑ์ แคลเซียม นม ผสม วิตามิน ดี เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้ผล เป็นที่นิยมอย่างสูง   
   อย. 10-3-25654-1-0002
ดูข้อมูลที่ http://yufangtangmilkcalcium.blogspot.com/
    ปริมาณและราคา
    แคลเซียม นม ผสม วิตามิน ดี 1 ขวด ปริมาณ 60 เม็ด เม็ดละ 2500mg  ราคา 1,500 บาท พิเศษเหลือเพียง 1350 บาท
    วิธีรับประทาน  รับประทานวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหาร
    สั่งซื้อและสมัครเป็นตัวแทนขาย
     คุณ วุฒิ ภัคประเสริฐ โทร. 091-745-1919, 094-956-1691
     อีเมล์  wut3699@gmail.com

เอกสารอ้างอิง:


1. Brown M. L. Calcium and Phosphorus. In: Present Knowledge in Nutrition. 6th edition, 1990; International Life Sciences Institute-Nutrition Foundation, Washington, D.C., pp. 212-223.
2. ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. พจนานุกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. พ.ศ. 2533 บริษัท รวมสาสน์ จำกัด, กรุงเทพฯ.

3. Recommended Dietary Allowances 10th Edition, 1989.
4. Osborne CG, McTyre RB, Dudek J, et al. Evidence for the relationship of calcium to blood pressure. Nutr Rev 1996;54:365–81.
5. Barilla DE, Notz C, Kennedy D, Pak CYC. Renal oxalate excretion following oral oxalate loads in patients with ileal disease and with renal and absorptive hypercalciurias: effect of calcium and magnesium. Am J Med 1978;64:579–85.

6. Curhan GC, Willett WC, Rimm EB, Stampfer MJ. A prospective study of dietary calcium and other nutrients and the risk of symptomatic kidney stones. N Engl J Med 1993;328:833V83.

7. Bell L, Halstenson CE, Halstenson CJ, et al. Cholesterol-lowering effects of calcium carbonate in patients with mild to moderate hypercholesterolemia. Arch Intern Med 1992;152:2441–44.

8. Sheikh MS, Santa Ana CA, Nicar MJ, et al. Gastrointestinal absorption of calcium from milk and calcium salts. N Engl J Med 1987;317:532–36.

9. Levenson DI, Bockman RS. A review of calcium preparations. Nutr Rev 1994;52:221–32 [review].
10. Nicar MJ, Pak CYC. Calcium bioavailability from calcium carbonate and calcium citrate.J Clin Endocrinol Metabol 1985;61:391–93.
11. Harvey JA, Kenny P, Poindexter J, Pak CYC. Superior calcium absorption from calcium citrate than calcium carbonate using external forearm counting. J Am Coll Nutr 1990;9:583–87.
12. Heaney RP, Recker RR, Weaver CM. Absorbability of calcium sources: the limited role of solubility. Calcif Tissue Int 1990;46:300–4.
13. Deroisy R, Zartarian M, Meurmans L, et al. Acute changes in serum calcium and parathyroid hormone circulating levels induced by the oral intake of five currently available calcium salts in healthy male volunteers. Clin Rheumatol 1997;16:249–53.
14. Heaney RP, Recker RR, Weaver CM. Absorbability of calcium sources: the limited role of solubility. Calcific Tissue Int 1990;46:300–4.
15. Locker AC., et al. Prevalence of low femoral bone density in older U.S. adults from NHANES III. J Bone Min Res., 1998; 13: 168-74.
16. Burros M. Testing calcium supplements for lead. New York Times June 4,1997, B7.
17. Bourgoin BP, Evans DR, Cornett JR, et al. Lead content in 70 brands of dietary calcium supplements. Am J Publ Health 1993;83:1155–60.
18. O’Brien K.O. Combined Calcium and Vitamin D Supplementation Reduces Bone Loss and Fracture Incidence in Older Men and Women. Nutrition Reviews, Vol. 56 No. 5; May 1998: 148-158.

19. ผศ.ดร. ประไพศรี ศิริจักรวาล. แคลเซี่ยม: เสาหลักของร่างกาย. เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการบริษัทมี้ดจอห์นสัน

20. Buckley L. M., et.al. Calcium and vitamin D3 supplementation prevents bone loss in the spine secondary to low-dose corticosteroids in patients with rheumatoid arthritis. A randomized, double-blind, placebo-controlled trial. Ann Intern Med, 1996 Dec 15; 125(12):961-8

21. Takahashi K., et.al. Effective intervention of low peak bone mass and bone modeling in the spontaneous murine model of senile osteoporosis, SAM-P/6, by Ca supplement and hormone treatment. Bone, 1994 Mar-Apr; 15(2):209-15.

22. Dawson-Hughes B., Harris S. S., Krall E. A. and Dallal G. E. Effect of calcium and vitamin D supplementation on bone density in men and women 65 years of age or older. N Engl J Med, 1997 Sep 4; 337(10):670-6.

23. Stevens V. I., Blair R. and Salmon R.E. Effects of vitamin D3, calcium, and phosphorus on growth and bone development of market turkeys. Poult Sci, 1984 Aug; 63(8):1571-85.

24. Arkhapchev Iu. P., Sergeev I. N., Spirichev V. B. and Blazhevich N. V. Calcium metabolism and the level of active metabolites of vitamin D3 in the rat serum during bone regeneration. Vopr Med Khim, 1986 Jul-Aug; 32(4):122-9.
25. Chapuy M. C. Vitamin D3 and calcium to prevent hip fractures in the elderly women. N Engl J Med, 1992 Dec 3; 327(23):1637-42.
26. Minne H. W. Osteoporosis as a cause of pathologic fracture. Langenbecks Arch Chir Suppl II Verh Dtsch Ges Chir, 1989: 493-502.
27. Meunier P. Prevention of hip fractures by correcting calcium and vitamin D insufficiencies in elderly people. Scand J Rheumatol Suppl, 1996; 103:75-8; discussion 79-80.
28. Jensen G. F., Christiansen C. and Transbøl I. Treatment of post menopausal osteoporosis. A controlled therapeutic trial comparing oestrogen/gestagen, 1,25-dihydroxy-vitamin D3 and calcium. Clin Endocrinol (Oxf), 1982 May; 16(5): 515-24.
29. Baeksgaard L., Andersen K. P. and Hyldstrup L. Calcium and vitamin D supplementation increases spinal BMD in healthy, postmenopausal women. Osteoporos Int, 1998; 8(3):255-60
30. Lupton J. R., et.al. Calcium Supplementation Modifies the Relative Amounts of Bile Acid in Bile Affects Key Aspects of Human. Human and Clin Nutr, 1996; 126 (5): 1421-1428.
31. Devine A., Prince R. P. and Bell R. Nutritional effect of calcium supplementation by skim milk powder or calcium tablets on total nutrient intake in postmenopausal women. Am J Clin Nutr, 1996; 64: 731-7.
32. Labin-Goldscher R. and Edelstein S. Calcium Citrate: A Revised Look at Calcium Fortification.
33. Murray M. T. and Pizzorno J. E. Encyclopedia of Natural Medicine. Revised 2nd edition 1998, Prima Publishing, USA. pp. 532-533, 617, 706-721, 747.
34. Murray M. T. Encyclopedia of Natural Supplements: The essential guide for improving your health naturally. 1996, Prima Health, USA. pp. 39-43.
35. Remington’s Pharmaceutical Sciences. 17th edition 1985, Philadelphia College of Pharmacy and Science. Pp. 1007-1010.
36. Germano C., Cabot W., and Turner L. The Osteoporosis solution. Kingston Book, New York.
37. Goodman and Gilman’s: The Pharmacological Basis of Therapeutics. 8th edition Vol. 2, 1991, Pergamon Press, New York. pp. 1496-1522.
38. Walji H. Health Essential: Vitamin Guide Reprinted 1996., Element Books Ltd., Brisbane. pp. 35, 60, 128-130, 133-134.
39. Lininger S.W., eds., A-Z guide to drug-herb-vitamin interactions: how to improve your health and avoid problems when using common medications and natural supplements together. 1999, Prima Publishing, USA, pp: 273-277.


มิลค์ แคลเซียม พลัส วิตามิน ดี ตรา ยู ฟาง ถัง

    คุณรู้ไหม บุคคลใดที่ต้องเสริมแคลเซียม
    ใน ช่วงอายุที่แตกต่างกันของคนเรา ก็จะมีความต้องการแคลเซียมใน ปริมาณที่แตกต่างกันโดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในวัยเจริญเติบโต สตรีที่อยู่ในช่วง
    ตั้ง ครรภ์และให้นมบุตร รวมทั้งผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้รับแคลเซียมมากกว่า ปกติ นอกจากนี้ โครงสร้างทางสรีระร่างกายที่แตกต่างกัน เพศหญิงจึงต้อง ได้รับแคลเซียมมากกว่าเพศชาย
    วัยเด็กต้องการได้รับแคลเซียมในปริมาณ มาก เพื่อให้เพียงพอต่อการ      เจริญเติบโตของร่างกาย  ซึ่งถ้าเด็กตกอยู่ในสภาวะขาดแคลเซียมเป็นระยะ        เวลานานจะทำให้การเจริญเติบโตช้าลง เป็นโรคกระดูกอ่อน การเจริญเติบ โตของฟันไม่สมบูรณ์ ขาดสมาธิอยู่นิ่งไม่ได้ เป็นต้น ผู้ที่ตกอยู่ในภาวะขาด         แคลเซียมอย่างรุนแรง  อาจส่งผลต่อการพัฒนาด้านสมอง  สติปัญญา  และ สุขภาพชีวิตในอนาคต
    ในวัยเจริญพันธุ์ของเด็กผู้หญิงโดยเฉพาะช่วงก่อนมีประจำเดือนนั้น
    ขณะที่ประจำเดือนกำลังจะมา และกำลังจะเปลี่ยนไปสู่การปรากฏลักษณะ
    ของ ความเป็นผู้หญิง กระดูกเชิงกรานก็จะเริ่มขยายกว้างขึ้นอย่างเห็นได้ชัด  หากช่วงเวลานี้เกิดขาดแคลเซียมอย่างรุนแรง จะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน และกระดูกอ่อนลง กระดูกเชิงกรานจะเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอันเนื่อง จากแรงดึงของกล้ามเนื้อ เป็นเหตุให้กระดูกเชิงกรานมีรูปร่างผิดปกติ หรือ แคบลง เมื่อเป็นเช่นนี้ในอนาคตหากมีการตั้งครรภ์จะส่งผลทำให้เกิดภาวะ ที่เรียกว่า “ ภาวะคลอดยาก ”  และอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพกระทั่งชีวิต ของแม่และทารก
    สำหรับสตรีที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์และระยะให้นมบุตร นั้น  หากขาด แคลเซียมก็จะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ที่สำคัญ เห็นได้จากการเจริญเติบโตทางกระดูกของทารกในครรภ์ไม่ดี  การเจริญ เติบโตของเด็กทารกเชื่องช้า ฟันงอกช้า และมีภาวะกระดูกอ่อน เป็นต้น ใน ขณะเดียวกัน หากร่างกายแม่ขาดแคลเซียมก็จะมีภาวะความดันโลหิตสูงใน ช่วงตั้งครรภ์ จะก่อให้เกิดโรคกระดูกอ่อนหลังคลอดลูกได้ด้วย  คนเราเมื่อ ย่างเข้าสู่วัยกลางคนแล้วจะสูญเสียมวลกระดูกราว 0.7% - 1% ต่อปี สำหรับ สตรีในช่วงเริ่มหมดประจำเดือนและหลังหมดประจำเดือน การสูญเสียของ
    มวลกระดูกจะเพิ่มมากขึ้น  คนเราเมื่ออายุ 65 ปีขึ้นไป เพศหญิงอาจสูญเสีย มวลกระดูกราว 30% - 50% ต่อปี  ส่วนเพศชายอาจสูญเสียมวลกระดูกราว 20% - 30% ต่อปี  หากร่างกายสูญเสียแคลเซีียมระยะยาว จะก่อให้เกิดโรค กระดูกพรุน กระดูกงอก และกระดูกหักชนิดต่างๆ ตลอดจนเกิดโรคความ ดันโลหิตสูง โรคอัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และอาจมีความเสี่ยง ต่อการเกิดเนื้องอกสูงขึ้น

   ปัจจุบัน สามารถป้องกันโรคขาดแคลเซี่ยม ได้ด้วย ผลิตภัณฑ์ แคลเซียม นม ผสม วิตามิน ดี เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้ผล เป็นที่นิยมอย่างสูง   
  
อย. 10-3-25654-1-0002

ดูข้อมูลที่ http://yufangtangmilkcalcium.blogspot.com/
    ปริมาณและราคา
    แคลเซียม นม ผสม วิตามิน ดี 1 ขวด ปริมาณ 60 เม็ด เม็ดละ 2500mg  ราคา 1,500 บาท พิเศษเหลือเพียง 1350 บาท
    วิธีรับประทาน  รับประทานวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหาร

    สั่งซื้อและสมัครเป็นตัวแทนขาย
     คุณ วุฒิ ภัคประเสริฐ โทร. 
091-745-1919, 094-956-1691
     อีเมล์  wut3699@gmail.com
 

คุณรู้หรือไม่? หากขาดแคลเซียมร่างกายจะเป็นอย่างไร


หากพูดถึงแคลเซียม...คุณคงจะนึกถึงเรื่องกระดูกและฟัน ถูกต้องแล้วครับ... แคลเซียมเป็นธาตุที่พบมากที่สุดในร่างกายของเรา และ 99% ของแคลเซียมในร่างกายมนุษย์จะถูกเก็บอยู่ในกระดูกและฟันนั่นเอง ซึ่งหน้าที่หลักๆ ของแคลเซียม คือ การสร้างกระดูก และกระดูกนี่เองที่จะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย ช่วยรักษารูปร่างและลักษณะของร่างกายให้สวยงามเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อ และปกป้องอวัยวะต่างๆ ไม่ให้ได้รับความกระทบกระเทือน นอกจากนั้น ยังช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับฟันของเราอีกด้วย
การขาดแคลเซียมหรือการได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอนั้นจะส่งผลให้ร่างกายมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางกระดูก เช่น โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกอ่อน โรคปวดข้อรูมาตอยด์ หรือโรคที่เกี่ยวกับข้อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้ออักเสบ ข้อเสื่อม ฯลฯ ซึ่งโรคเหล่านี้สร้างปัญหาให้เราได้อย่างแสนสาหัสเลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเราอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ร่างกายของเราจะหยุดสร้างเซลล์กระดูก คงเหลือไว้เพียงแต่การสลายกระดูกเท่านั้น ดังนั้นมวลกระดูกจึงลดลงเรื่อยๆ ตามอายุที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เราจำเป็นที่จะต้องได้รับแคลเซียมเสริมเพิ่มเติมเข้าไป เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกระดูกของเรา เพื่อให้กระดูกของเราทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ในทางกลับกันหากเราได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอในแต่ละวัน โรคทางกระดูกและข้อที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นก็จะกลายเป็นปัญหาหนักอก สร้างความเดือดร้อนทั้งในด้านของการรักษาและจิตใจของเราเองด้วย คุณรู้ไหมว่าอันตรายของโรคกระดูกพรุนนั้น ไม่ได้อยู่ที่แค่การที่เนื้อกระดูกของเราบางลงเท่านั้น แต่มันอยู่ที่สิ่งที่ตามมา..การที่เนื้อกระดูกของเราบาง มีความหนาแน่นน้อยน้อย จะทำให้มันเปราะได้ง่าย และเมื่อเราหกล้ม หรือโดนกระแทกเพียงเบาๆ ก็อาจจะทำให้เกิดอาการกระดูกหัก และกลายเป็นปัญหาใหญ่ตามมา การรักษาหลังจากนั้นจะค่อนข้างลำบาก เนื่องจากว่าการสมานของกระดูกในคนสูงอายุนั้น จะเป็นไปได้ยากกว่าวัยเด็ก เพราะร่างกายไม่ได้สร้างเซลล์กระดูกแล้ว นอกจากนั้นอาการติดเชื้อต่างๆ ก็ยังส่งผลต่อการรักษาด้วย และท้ายที่สุดอาจจะทำให้เสียชีวิตได้จากการหกล้มเพียงนิดเดียวเท่านั้นเอง จากสถิติพบว่า ผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไปมีอัตราการเสี่ยงต่อการกระดูกหักประมาณร้อยละ 40 และอัตราการตายจากการกระดูกหักในผู้หญิงนั้นมากกว่าอัตราการตายจากโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก และมะเร็งปากมดลูกรวมกันเสียอีก ... ไม่ใช่เรื่องล้อเล่นเลย..ว่าไหม??


ความต้องการแคลเซียมของคนในแต่ละวัย
กลุ่มอายุ
ปริมาณแคลเซียมที่แนะนำ (มิลลิกรัม/วัน)
0-12 เดือน
210 270
1-3 ปี
500
4-8 ปี
800
9-18 ปี
1,300
19-50 ปี
1,000
ผู้สูงอายุ (มากกว่า 50 ปี)
1,200
สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร
1,500 – 2,000
สตรีวัยหมดประจำเดือน
1,500
 แต่นอกเหนือจากเรื่องปัญหาโรคทางกระดูกแล้ว การขาดแคลเซียมยังส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอีกมากมาย ทั้งนี้เป็นเพราะแคลเซียมมีส่วนสำคัญต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายด้วย เป็นต้นว่า มีส่วนช่วยในเรื่องการแข็งตัวของเลือด ทำงานเกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ และรักษาความสมดุลของเลือดและความดันโลหิตให้ปกติ ดังนั้นการขาดแคลเซียม นอกจากจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางกระดูกแล้ว ก็ยังทำให้ร่างกายมีอาการผิดปกติในด้านอื่นๆ ด้วยเช่น
ภาวะที่อาจเกิดขึ้นหากขาดแคลเซียม
(Clinica Symptoms Related to Calcium Deficiency)







วัยเด็ก
(Children)
1. เหงื่อออกตอนกลางคืน (Night sweat)
2. ผมน้อย (Less hair)
3. ละเมอร้องไห้ตอนกลางคืน (Night wailing)
4. ตะคริว (Cramps)
5. กระดูกสันอกนูนชัดผิดปกติ หรืออกไก่ (Chicken breast)
6. ขาโก่ง ขาคด (“O” of “X” type legs)
7. ฟันขึ้นช้า
(Tooth growth lag)
8. สมาธิสั้น
(Hyperactivity)
9. กระสับกระส่าย
(Agitation)
10. เบื่ออาหาร
(Apositic)
11. อาการปวดขาเนื่องมาจากการเติบโต (หรือสูงขึ้น)
(Growth pain)
12. ภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง
(Weak immunity)
13. ไม่สบายง่าย
(Easily sicked)


วัยรุ่น (Teenager)
1. เหนื่อยง่าย (Tiredness)
2. นอนไม่ค่อยหลับ (Sleeplessness)
3. ขี้ลืม (Forgetful)
4. ไม่มีสมาธิ (Easily distracted)
5. ภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง (Weak immunity)
6. เบื่ออาหาร (Apositic) 


สตรีมีครรภ์และแม่ลูกอ่อน (Pregnant women and nursing mothers)
1. ภาวะกระดูกพรุนตอนตั้งครรภ์ (Pregnancy related osteoporosis)
2. มีอัตราเสี่ยงต่อการกระดูกหักหรือร้าวสูง (High risk of bone fracture)
3. เป็นตะคริวขั้นรุนแรง (Serious cramps)
4. เจ็บหลังและปวดข้อมือ (Back and wrist pain)
5. เบื่ออาหาร (Apositic)
6. มีภูมิต้านทานโรคต่ำ (Lower immunity)
7. ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของร่างกายทารก (Influences on baby’s growth)


ผู้ใหญ่ (Adults)
1. เหนื่อยง่าย (Fatigue)
2. ความจำเสื่อม (Memory loss)
3. เซื่องซึม เฉื่อยชา (Lethargy)
4. เจ็บหลังและปวดข้อมือ (Wrist and back pain)
5. เป็นตะคริวที่น่อง (Cramp of lower legs)
6. อารมณ์แปรปวน (Temperamental)


ผู้สูงอายุ (The Elderly)
1. มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ (Sleeping problems)
2. กระสับกระส่าย (Nervousness)
3. มีปัญหาเรื่องความจำ (Memory problems)
4. ปวดแสบร้อนบริเวณมือและเท้า (Tingling of hands and feet)
5. นิ้วชา (Numbnesss in fingers)
6. มีปัญหาเรื่องระบบประสาท (Nerve related problems)
7. เล็บเปราะ (Brittle nails)
8. ปวดหลังช่วงล่าง ปวดสะโพก (Lower back pains)
9. เจ็บ ปวดข้อต่อ (Joint pains)
10. หลังค่อม (Hunchback)
11. เคลื่อนไหวไม่คล่องตัว เคลื่อนไหวไม่สะดวก (Limited movement)
12. มีอัตราเสี่ยงต่อการกระดูกหักหรือร้าวสูง (Very high risk of bone fracture)
13. แก่เร็ว (Aging acceleration)

ไม่น่าเชื่อ..เลยนะครับ..ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจากการได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอจะมีมากมายขนาดนี้ เพราะฉะนั้นเราควรจะป้องกันมากกว่าการแก้ไขครับ ควรรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอกับความต้องการในแต่ละวัน แต่เชื่อเถอะครับว่า ร้อยทั้งร้อย ต่อให้คุณรับประทานอาหารอย่างไร ก็ยังคงได้รับแคลเซียมไม่เพียงพออยู่ดี... ทำไมเหรอ.. นั่นเป็นเพราะว่าอาหารที่เรารับประทานเข้าไปในแต่ละวันนั้นผ่านกระบวนการแปรรูปมากมาย คุณค่าหรือสารอาหารที่จะได้รับมักจะสูญเสียสลายไปกับความร้อนและขั้นตอนต่างๆ การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ....

   ปัจจุบัน สามารถป้องกันโรคขาดแคลเซี่ยม ได้ด้วย ผลิตภัณฑ์ แคลเซียม นม ผสม วิตามิน ดี เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้ผล เป็นที่นิยมอย่างสูง   
  
อย. 10-3-25654-1-0002

ดูข้อมูลที่ http://yufangtangmilkcalcium.blogspot.com/
    ปริมาณและราคา
    แคลเซียม นม ผสม วิตามิน ดี 1 ขวด ปริมาณ 60 เม็ด เม็ดละ 2500mg  ราคา 1,500 บาท พิเศษเหลือเพียง 1350 บาท
    วิธีรับประทาน  รับประทานวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหาร

    สั่งซื้อและสมัครเป็นตัวแทนขาย
     คุณ วุฒิ ภัคประเสริฐ โทร. 
091-745-1919, 094-956-1691
     อีเมล์  wut3699@gmail.com